วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การจัดการกับกระรอกดินริชาร์ดสัน ให้คุ้นเคยกับมนุษย์



การจัดการเพื่อความคุ้นเคยต่อมนุษย์


ในการที่จะกลายเป็นสัตว์เลี้ยงที่เหมาะสม สำหรับสัตว์ทั้งที่เกิด ในระหว่างถูกกักขังและถูกจับมาในป่า การจัดการโดยพื้นฐานปกติแล้วจะเริ่มต้นที่อายุ 4 อาทิตย์

กระรอกดินริชาร์ดสันต้องการการจัดการอย่างกว้างขวางจากเมื่อช่วงอายุยังน้อย อายุยิ่งน้อย ยิ่งดีที่สุด ทุกความสัมพันธ์ของมนุษย์-สัตว์เลี้ยงนั้นมีลักษณะเฉพาะ

ดังนั้นความอดทนและเป็นมิตรของสัตว์เลี้ยงกระรอกดินริชาร์ดสันนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะนิสัยเฉพาะของทั้งมนุษย์และกระรอกดินริชาร์ดสัน เช่นเดียวกันกับความคุ้นเคยของกระรอกดินริชาร์ดสันที่มีต่อมนุษย์มาก่อน

เมื่อกระรอกดินริชาร์ดสันเด็กมีอายุมากเพียงพอในการที่จะเริ่มกินอาหารเม็ด และเริ่มที่จะออกจากรังที่ถือกำเนิด 

กระรอกดินริชาร์ดสัน ที่อายุมากแล้วนั้น เมื่อเริ่มถูกจัดการโดยมนุษย์ ยิ่งต้องมีความอดทนและใช้เวลามากขึ้นในการทำความคุ้นเคยต่อสัตว์

กระรอกดินริชาร์ดสันที่มีอายุมากแล้วอาจจะกลายเป็นไม่ชอบเข้าสังคมหรือเป็นมิตรถึงแม้นว่าจะถูกจัดการอย่างต่อเนื่อง 

สัตว์ที่ถูกกักขังจนโตแล้วแทบจะไม่กลายเป็นสัตว์เลี้ยงที่เหมาะสมเราควรทำการจัดการกับกระรอกดินริชาร์ดสันในแบบที่อ่อนโยนและต่อเนื่อง เช่น การยื่นอาหารให้กับมือ 


อย่างเช่น แตงโมหนึ่งชิ้น หรือเมล็ดทานตะวันที่ไม่เค็มเพื่อเป็นรางวัล จะช่วยให้กระรอกดินเชื่อใจและกลายเป็นความเชื่อง

อย่าบีบหรืออุ้มกระรอกดินที่หน้าอกแน่น เพราะการทำเช่นนี้จะทำให้กระรอกดินหายใจลำบาก ถ้าหากกระรอกดินตกใจ หรืออุ้มแน่นเกินไป กระรอกดินอาจกัดโดยสัญชาตญาณ หรือขีดข่วนเพื่อที่จะให้หลุดพ้น สัตว์เลี้ยงบางตัวตามอายุน้อยนักที่จะมีความอดทนต่อการจัดการและกลับไปสู่พฤติกรรมป่าโดยธรรมชาติ







วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กระรอกดินริชาร์ดสันกับกรง

กรงสำหรับกระรอกดินริชาร์ดสัน


กรงสำหรับกระรอกดินริชาร์ดสันและอุปกรณ์ภายในกรงที่เหมาะสมคือ
-กรงขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ และมีก้นกรงลึก ซี่กรงควรจะห่างกัน ¾ นิ้ว หรือน้อยกว่านี้
-ขี้เลื่อยที่ไม่มีกลิ่น ชิ้นขี้เลื่อยไม่ละเอียดมากเกินไป เพราะขิ้นเล็กทำให้ดวงตาของกระรอกระคายเคืองได้
-กล่อง(กระดาษแข็ง พลาสติก หรือไม้) เพื่อเป็นรังนอน
-วัสดุรองนอน เช่น ผ้าขนนุ่ม เพื่อที่กระรอกเอาไปทำรังนอนได้ ผ้าขนหนูสามารถก่อให้เกิดฝุ่น ซึ่งระคายเคืองต่อปอดในเวลาที่กระรอกฉีกเป็นชิ้นเล็กๆ ดังนั้นหลีกเลี่ยงการใช้ผ้าขนหนูเป็นวัสดุรองนอน
-ทรายใส่กล่องพลาสติกหลายๆกล่อง กระรอกจะใช้ 1 กล่องเพื่อขับถ่าย ส่วนกล่องอื่นเอาไว้ขุด
-จานอาหารเป็นพลาสติก หรือโลหะ
-ขวดน้ำแขวนกรง


อุปกรณ์เสริมในกรง เพื่อให้กรงมีความน่าอยู่ และกระรอกไม่เบื่อ
-ท่อพีวีซี ยาว 3-4 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง 8-10 เซนติเมตร เอาไว้ให้กระรอกมุดเล่น
-กล่อง หรือท่อกระดาษแข็ง เอาไว้แทะเล่น
-ทราย/ดิน ใส่กล่อง เอาไว้ขุด
-แผ่นไม้ เพื่อไว้ทำหลายๆขั้น แต่ต้องไม่สูงมากเกินไป และแผ่นไม้ต้องสามารถถอดออกเพื่อเอาไปทำความสะอาดได้ง่าย
-วงล้อ เอาไว้วิ่ง


การทำความสะอาดกรงและของใช้ในกรง
-ใช้น้ำยาล้างหรือน้ำยาทำความสะอาดที่ไม่มีกลิ่น
-หมั่นทำความสะอาดห้องน้ำ และเปลี่ยนทราย/ดิน


วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บันทึกของน้องมีตังค์

วันที่เราไปรับน้องมีตังค์ เป็นวันที่ 5 มิถุนายน 2556
น้องมีตังค์มาพร้อมกับสายฝนที่เทลงมาอย่างหนัก

เมื่อรถตู้นำน้องมีตังค์มาถึง ณ จุดนัดรับ เรารีบดูที่ตะกร้าของเค้า เนื่องจาก กลัวเค้าจะเครียดจากการเดินทาง

เมื่อเราแอบดูเค้า เค้าทักทายเราด้วยเสียงแหลมๆเล็กๆ เรามารู้ทีหลังว่า เสียงแหลมๆเล็กๆที่เค้าร้องนี้ คือ เค้ากลัว

จากนั้นเราและน้องชายจึงไปซื้อเสื้อกันฝนที่ เซเว่น เพราะกลัวเค้าเปียกฝน เนื่องจากไม่ได้เอาร่มไปด้วย

เมื่อกลับมาถึงบ้าน เราเอาเค้าใส่ตะกร้าขนาดกลาง พร้อมด้วยผ้าของเค้าที่มากับตะกร้า เพื่อให้เวลาเค้าปรับตัว

เมื่อเราทำธุระเสร็จ เราเอาเค้าออกมาข้างนอกตะกร้า เรียกชื่อเค้า ลูบเค้า เค้ายังร้องอยู่ เราจึงปล่อยให้เค้าอยู่ในตะกร้าในคืนแรกพร้อมทั้งอาหารที่เราหาข้อมูลมาคร่าวๆแล้ว



วันที่ 6 มิถุนายน 2556
วันที่ 2 ของการมาอยู่บ้านใหม่กับน้องมีตังค์

เราตื่นเร็วกว่าทุกวันเพื่อที่จะมาดูว่าเค้าตื่นกี่โมง แต่เค้าก็ยังไม่ตื่น จากการที่เราโทรไปถามคนขาย เพราะกังวลว่าทำไมเค้ายังไม่ตื่น จึงได้ความว่า ถ้าอากาศเย็น เค้าจะนอนนาน และอยากแต่จะนอน

ช่วงที่เรารอให้เค้าตื่น เราได้ทำความสะอาดกรงและจัดกรงให้เค้า

เมื่อเค้าตื่น เราให้เค้ากินผักกาดหอม และแครอท จากนั้นเราโทรไปถามคนขายว่าเค้ากินอาหารเม็ดยี่ห้ออะไร เมื่อได้รับคำตอบว่าเค้ากินอะไรได้บ้าง วันศุกร์ฺที่ 7 เราจึงจัดการสั่งและซื้อมาให้เค้า

เราเอาเค้าออกมาเล่น และเรียกชื่อเค้า จากการที่เราสังเกตุคือ หากเค้ารู้สึกไม่ปลอดภัย เค้าจะวิ่งกลับไปที่กรงของเค้า ซึ่งตอนนั้นสามีของเรายังไม่ได้ทำชั้นวางรองบนกรงเพื่อป้องกันน้ำท่วมบ้าน เราจึงวางกรงเค้ากับพื้น

วันที่ 8 มิถุนายน 2556
เราซื้อสร้อยคอมาเพื่อที่จะใส่ให้เค้า กลับมาถึงบ้านเราจับเค้าใส่สร้อย และเราเอาเชือกจูงน้องหมามาคล้องกับสายสร้อยของเค้าอีกทีหนึ่ง เป็นการป้องกันเวลาเราเอาเค้าออกมาเล่น เค้าจะได้ไม่มุดไปในส่วนที่เรามองไม่เห็นหรืิอจับตัวเค้าไม่ได้

ชั่งน้ำหนักให้เค้าครั้งแรก เค้าหนัก 192 กรัม

วันที่ 9 มิถุนายน 2556
เราไปรับหญ้าขนสดตามที่คนขายนัดให้เราไปรับกับรถตู้ซึ่งส่งมาจากจันทบุรี รถตู้มาช้ากว่าเวลาเราจึงโทรไปถาม เขาบอกว่ารถติดมาก ช่วงที่รอ เราหิว จึงขวนน้องชายไปซื้อของกินรองท้องจากปั๊ม และเราก็เห็นหญ้าขนสดที่ขึ้นตรงข้างปั๊ม เรากับน้องชายจึงดึงออกมาทั้งราก เพื่อจะเอาไปปลูกที่บ้าน

18.30 น. คนขับเอาหญ้าขนสดมาส่งให้ที่จุดนัดรับ เรากับน้องชายจึงนั่งรถไปที่เทพประสิทธิ์เพื่อหาซื้อของใช้ให้เค้า เราได้อาหารที่เหมาะกับเค้ามาคือของ Versele-Laga เป็นสูตร Cuni junior Nature

เมื่อกลับมาถึงบ้าน เราเอาอาหารตัวใหม่นี้ ผสมกับอาหารตัวเก่า(ตามที่เราโทรถามกับคนขาย)

เอาเค้าออกมาเล่น เรียกชื่อเค้า เค้าร้องเสียงแหลม แต่ไม่ใช่เสียงเหมือนวันแรกที่ไปรับเค้า แต่เป็นเสียงแหลมๆสั้นๆ ซึ่งเราเข้าใจว่าเป็นเสียงที่เค้าใช้เรียกเราหรือตอบรับเวลาที่เราเรียก เพราะเค้าจะหันมามองในขณะที่ร้องเสียงนี้ตอนที่เราเรียกชื่อเค้า

วันนี้เราได้ต่อชั้นเพิ่มในกรง เพราะจากที่เราหาข้อมูลมา กรงเค้าควรจะมีหลายชั้น

หลังจากต่อชั้นเสร็จ เราเอาเบาะนอนใส่ในกรงให้เค้า แต่เค้าแทะ เราจึงเอาออก และเอากล่องพลาสติกให้เค้านอนแทน เหตุที่เราเอาเบาะนอนออก เพราะก่อนหน้านี้ เค้าแทะโดมนอนขาดไปแล้ว 1 ใบ


วันที่ 10 มิถุนายน 2556
สามีเราต่อชั้นวางกรงให้เค้าใต้กรงนก
เมื่อเอากรงเค้าไปตั้งแล้ว สูงจากพื้นประมาณ 15 ซม.
เราเอาเค้าออกมาเล่นช่วงกลางวัน เพื่อดูว่าเค้าจะสามารถขึ้นลงกรงได้หรือไม่ และเค้าก็สามารถปีนขึ้นกรง และกระโดดลงจากกรงได้โดยที่เราไม่ต้องช่วย

และคืนนี้ฝนตกลงมา หนักมาก แต่แค่สั้นๆ แต่ก็ทำให้น้ำท่วมบ้านได้ เค้าก็เลยไม่ได้ออกมาเล่นนอกกรงอีกในคืนนี้

วันที่ 12 มิถุนายน 2556
เราให้น้องชายไปซื้อผักกวางตุ้งตอนที่เขาไปซื้อข้าวที่ตลาด
เรามาดูทีหลังว่าผักกวางตุ้งที่น้องชายซื้อมานี้เป็น ดอกกวางตุ้ง เราลองเอาให้เค้ากินดู เค้ารีบกินตรงส่วนที่เป็นดอกสีเหลืองก่อน จากนั้นจึงกินตรงส่วนที่เป็นใบ และตามด้วยส่วนที่เป็นยอดอ่อน

วันที่ 13 มิถุนายน 2556
อาการกัดแทะกรงยังมีบ้าง แต่ไม่มากนััก เนื่องจาก เราเอาเค้าออกมาเล่น 3 รอบ เค้าคงเหนื่อยจึงนอนหลับอย่างเดียว

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจในพฤติกรรมของเค้าคือ หากเค้าเล่นเหนื่อย หรืออากาศเย็น เค้าจะนอนหลับโดยที่ไม่แทะกรง

หากเค้าต้องการที่จะนอน และเรายังไม่ปิดไฟ เค้าจะร้อง ร้องประมาณว่า "หนูจะนอน"

ส่วนช่วงกลางวัน ตอนที่มีลูกค้าเข้ามาที่ออฟฟิส เค้าก็จะร้อง ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นเพราะ การคุยกับลูกค้าเสียงดังรบกวนเค้า หรือเพราะเค้าไม่เคยได้ยินเสียงนั้นมาก่อน

วันที่ 15 มิถุนายน 2556
เค้าเริ่มไว้ใจเรามากขึ้น เวลาเอาออกจากกรงมาเล่น เค้าจะปีนขึ้นมาขอจูบปาก บางครั้งก็ปีนไปอยู่บนด้านหลังคอ หรือหากกลัวอะไร เค้าจะมาอยู่ตรงที่ซอกขาของเรา

สิ่งหนึ่งที่เค้ายังต้องถูกฝึกคือ เค้าแทะเสื้อและกางเกงของเรา เราต้องเอานิ้วชี้ดันจมูกเค้า และบอกว่า "อย่าทำ" เมื่อเค้าจะทำอีก เราจะยกนิ้วขึ้น เค้าจะดูที่นิ้วและไม่แทะ

เค้าชอบนอนอยู่ในกระเป๋าเสื้อ หรือกระเป๋ากางเกง ในขณะที่เราเดินทำโน่นทำนี่ เค้าจะอยู่แต่ในกระเป๋า แต่หากเราหยุดเดิน เค้าก็จะออกมาจากกระเป๋า

เราให้น้องชายเอาหญ้าขนสด(ที่แช่น้ำไว้ และมีรากงอกออกมาแล้ว)ไปปลูกในกระถาง เพื่อที่จะได้ไม่ต้องหาซื้อมาให้เค้าอีก และเค้าจะได้กินสด เมื่อเราเก็บจากกระถางมาให้เค้า




วันที่ 16 มิถุนายน 2556
วันนี้เราไปซื้อกรงมาให้เค้าใหม่ เป็นกรงที่มีถาดก้นลึก เหมาะแก่เค้าในการที่จะขุด ซึ่งเราจะใส่หญ้าทิโมธีที่ก้นกรงให้เค้า

เราซื้อห้องน้ำมาด้วย ซึ่งใส่ได้พอดีกับด้านกว้างของก้นกรง และกล่องไม้ขนาดใหญ่ให้เค้านอน กล่องไม้สำหรับนอนสามารถแขวนเอาไว้กับซี่กรง เหลือด้านล่างกรงเอาไว้ให้เค้าชุดหญ้าเล่น และใส่ท่อนไม้ซึ่งคุณสามีตัดให้เค้าเพื่อแทะลับฟัน

หลังจากจัดเสร็จ เอาเค้าใส่ในกรงใหม่ เค้าสำรวจกรง และอึกับฉี่ตรงที่ห้องน้ำที่เราซื้อมาให้เค้า เราใส่ทรายแมวเอาไว้ในห้องน้ำ เพื่อดับกลิ่นฉี่
วันที่ 18 มิถุนายน 2556
เรากำลังหัดไม่ให้เค้าแทะกรง เมื่อเราเห็นเค้าแทะกรง เราจะยกนิ้วชี้ พร้อมกับดุเค้า เค้าก็ไม่แทะ แต่เค้าจะทำเสียงพ่นลมขึ้นจมูก และร้องคล้ายเสียงโดนขัดใจ ในกรงเค้าเราก็ใส่ไม้เอาไว้ให้เค้าแทะ แต่เค้าไม่ค่อยแทะไม้เลย

วันนี้เค้าไม่ค่อยแทะกรงเหมือนเมื่อคืนนี้ เราไม่อยากให้เค้าแทะ เพราะกลัวเค้าจะมีปัญหาเรื่องฟัน

กระรอกดินริชาร์ดสันกับอาหาร

อาหารกระรอกดินริชาร์ดสัน



กระรอกริชาร์ดสัน

เป็นสัตว์ที่กินอาหารจำพวกเจ คือกินส่วนใบของผักต่างๆ และกินเมล็ดพืชในป่า

อาหารที่แนะนำสำหรับกระรอกดินริชาร์ดสัน คือ

ผักใบเขียวสดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผัดกาดหอม
ใบและดอกแดนดิไลออน (ถ้าหากเก็บมาสดๆทั้งต้น ให้เก็บเอาไว้ในถุงพลาสติกและเอาใส่ตู้เย็น 2-3 วัน)
ผลไม้จำพวกแตง (แตงโม แคนตาลูป ฯลฯ)
ผลไม้อื่น (กล้วยที่สุกงอม แอปเปิ้ล หั่นเป็นชิ้น)
ข้าวโพดดิบ (ให้ทั้งซังข้าวโพด) (ควรให้พอประมาณ)
ถั่วงอก (เลือกที่มียอดใบเขียว)
ลูกพลัม
แครอท
มันฝรั่ง (อย่าให้ส่วนที่เป็นสีเขียว เพราะสามารถเป็นพิษต่อกระรอกได้)
สาลี่
เมล็ดทานตะวันที่ไม่เค็ม ทั้งเปลือกหรือไม่ทั้งเปลือก
มูสลีที่ไม่หวาน อาหารเช้าที่ทำจากข้าวโอ๊ต
หญ้าทิโมธี (บางตัวไม่ชอบกิน แต่บางตัวชอบกิน)
เมล็ดพืช ถั่ว ธัญพืช
หญ้าสด (ต้องแน่ใจว่าไม่มีสารเคมีจากยาฆ่าแมลงและยาฆ่าหญ้า)
อาหารเม็ดของกระรอกหรืออาหารของสัตว์จำพวกฟันเทะ
หนอนนก หนอนยักษ์ ตั๊กแตน ซากสัตว์ และไข่ของสัตว์ที่ได้รับความเสียหาย

ให้อาหารหลากหลายชนิด และดูว่ากระรอกของคุณชอบอะไร
อย่าให้อาหารที่มีรสหวานหรือรสเค็ม





อาหารที่กระรอกกินไม่หมด ให้เก็บทิ้งในวันรุ่งขึ้น

น้ำ

ควรจะเป็นขวดแขวนติดกับกรงเอาไว้ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าผักจะมีน้ำก็ตาม แต่กระรอกมีความจำเป็นต้องดื่มน้ำ